top of page

การชำระบัญชีเลิก บริษัท จํากัด

     เนื่องจาก บริษัท จํากัดเมื่อได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ขนถือเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่อมาเมื่อมีการเลิกกิจการที่จะต้องดำเนินการชำระบัญชีโดยผู้ชำระบัญชีซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการของ บริษัท เว้น แต่ในกรณีที่ บริษัท เลิกกิจการเพราะเหตุล้มละลายจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายโดยมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการชำระสะสางสินทรัพย์และหนี้สินของ บริษัท แทนผู้ชำระบัญชี

     ความหมายของการชำระบัญชี (Liquidation) หมายถึงการจำหน่ายสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งสิ้นของ บริษัท และนําเงินสดไปชำระหนี้สินและจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ถ้ามีเงินสดคงเหลือจะจ่ายคืนทุนให้ผู้ถือหุ้นซึ่งต้องจ่ายคืนให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อนส่วนที่เหลือจึงจะจ่ายคืนผู้ถือหุ้นสามัญ

     ผู้ชำระบัญชีของบริษัท คือคณะกรรมการหรือบุคคลของ บริษัท ที่แต่งตั้งขึ้นให้เป็นผู้ชำระบัญชีเว้นแต่ข้อบังคับของ บริษัท จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นถ้าไม่มีผู้ชำระบัญชีดังกล่าวพนักงานอัยการหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการนี้มีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้

     อำนาจหน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ การชำระสะสางการงานของ บริษัท ให้สำเร็จลุล่วงเสร็จสิ้นไปด้วยดีโดยการรวบรวมสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งสิ้นจําหน่ายเพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินและจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ถ้ามีเงินเหลือให้จ่ายคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจำนวนหุ้นที่แต่ละคนถืออยู่และภายใน 14 วันนับตั้งแต่เลิก บริษัท ผู้ชำระบัญชีต้องกระทำการดังต่อไปนี้

    1. ต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้งว่า บริษัท ได้เลิกกิจการแล้วเพื่อให้เจ้าหนี้ยื่นทวงหนี้แก่ผู้ชำระบัญชี (แก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551 มาตรา 18)

     2. ต้องจดทะเบียนเลิก บริษัท ภายใน 14 วันและให้ระบุชื่อ

     3.ผู้ชำระบัญชีทุกคนผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำงบแสดงฐานะการเงินให้เรียบร้อยและเร็วที่สุดตรวจสอบความถูกต้อง

     4. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ชำระบัญชีให้นำไปจดทะเบียนภายใน 14 วัน

     5. แก้ต่างหรือประนีประนอมยอมความในนามของ บริษัท ในคดีพิพาททางแพ่งและอาญา

     6. ขายทรัพย์สินของ บริษัท รวมทั้งดำเนินกิจการของ บริษัท ตามความจำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จสิ้น

     7. ผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายค่าธรรมเนียมค่าภาระติดพันและค่าใช้จ่ายต่างๆในการชำระบัญชีก่อนหนี้รายอื่น

     8. ถ้าเจ้าหนี้คนใดไม่ได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ผู้ชำระบัญชีต้องวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นต่อสำนักงานวางทรัพย์หลังชำระหนี้สินแล้วเงินที่เหลือจึงจ่ายคืนทุน

     9. ถ้าผู้ชำระบัญชีพิจารณาว่าเมื่อเงินทุนหรือเงินค่าหุ้นได้ใช้เสร็จหมดแล้วสินทรัพย์ยังไม่พอชำระหนี้สินผู้ชำระบัญชีต้องร้องขอต่อศาลทันทีให้ออกคำสั่งว่า บริษัท นั้นล้มละลาย

    10. ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานยื่นต่อนายทะเบียนทุกรอบระยะเวลา 3 เดือนเพื่อให้เห็นความเป็นไปของบัญชีที่ชำระอยู่นั้นและเปิดเผยให้แก่ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ได้ตรวจดู 

    11. ในกรณีที่การชำระบัญชีไม่เสร็จภายใน 1 ปีให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกสิ้นปีโดยจัดทำรายงานยื่นต่อที่ประชุมเพื่อทราบความเป็นไปในการชำระบัญชีเพื่อส่งให้ผู้สอบบัญชี

Enter

    12. เมื่อการชำระบัญชีของ บริษัท เสร็จสิ้นลงเสนอและอนุมัติรายงานและนำไปจดทะเบียนภายใน 14 วันนับ แต่วันที่ประชุมผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานและเรียกประชุมใหญ่เพื่ออำนาจหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตามพระราชบัญญัติ บริษัท มหาชน จำกัด ในมาตรา 159 ถึง 179 กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีดังต่อไปนี้

        1. ดำเนินงานของ บริษัท เฉพาะที่จำเป็นเพื่อชำระสะสางการงานที่ค้างอยู่ของ บริษัท ให้เสร็จสิ้น

        2. เก็บเงินจากลูกหนี้หรือขายทรัพย์ของ บริษัท

        3. ดำเนินการเกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีอาญาหรือประนีประนอมยอมความในนามของ บริษัท

        4. ชำระหนี้สินต่าง ๆ ของ บริษัท

        5. เรียกประชุมผู้ถือหุ้น

        6. แบ่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือหลังการชำระบัญชีให้แก่ผู้ถือหุ้น

        7. ดำเนินการอย่างอื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้การชำระบัญชีเสร็จสิ้น

        8. ภายใน 7 วันนับ แต่วันที่ได้รับแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีต้องขอจดทะเบียนเป็นผู้ชำระบัญชีจดทะเบียนเลิก บริษัท และประกาศ

การเลิก บริษัท ทางหนังสือพิมพ์

bottom of page