top of page
การจำหน่ายหุ้นทุนโดยเรียกชำระเต็มมูลค่า

1. จำหน่ายหุ้นทุนในราคาตามมูลค่า (At Par) เมื่อผู้ก่อการของบริษัทได้จดทะเบียนหนังสือ บริคณหัสนธิ โดยกำหนดให้มีทุนหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น ราคามูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมทุนทั้งสิ้น 100,000 บาท จะบันทึกความทรงจำ (Memorandum) ในบัญชีทุนของหุ้นแต่ละประเภท ในสมุดรายวันทั่วไปและบัญชีแยกประเภททั่วไป

2. จำหน่ายหุ้นทุนในราคาสูงกว่ามูลค่า

(At Premium) สามารถทำได้หากได้มีการ ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ และในการเรียกเก็บเงินค่าหุ้นครั้งแรกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 (ตามกฎหมายกำหนด) พร้อมส่วนเกินการจำหน่ายหุ้นได้ในราคาสูงกว่ามูลค่า หมายถึงจำหน่ายในราคาสูงกว่าที่จดทะเบียน เช่น จดทะเบียนไว้ในราคามูลค่าหุ้นละ 20 บาท แต่จำหน่ายได้ในราคาหุ้นละ 25 บาท เพราะฉะนั้นส่วนเกินที่สูงกว่าจดทะเบียน คือ (25-20 = 5 บาท) จะแสดงไว้ในบัญชีส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ/บุริมสิทธิ ปรากฏอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินส่วนของผู้ถือหุ้น

3. จำหน่ายหุ้นทุนในราคาต่ำกว่ามูลค่า

(At Discount) ของบริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด มาตรา 52 บริษัทมหาชน จำกัด สามารถจำหน่ายหุ้นทุนในราคาต่ำกว่ามูลค่าได้ ถ้าบริษัทดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น กำหนดอัดราส่วนลดไว้แน่นอน และระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย ดังนั้นการจำหน่ายหุ้นทุนของบริษัทมหาชน จำกัด สามารถจำหน่ายได้ในราคาตามมูลค่า ราคาสูงกว่ามูลค่า และราคา ต่ำกว่ามูลค่า ส่วนวิธีการชำระเงินค่าหุ้นต้องชำระครั้งเดียว 100% ส่วนบริษัทเอกชน จำกัดกฎหมายห้าม มิให้จำหน่ายในราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้น

การจำหน่ายหุ้นทุนโดยรับชำระไม่เต็มมูลค่าหรือจำหน่ายโดยวิธีให้จอง

       การจำหน่ายหุ้นทุนของบริษัทเอกชน จำกัด ในกรณีที่บริษัทเอกชน จำกัด มีขนาดใหญ่ มีจำนวนหุ้นทุนที่ออกจำหน่ายจำนวนมาก และผู้ถือหุ้นหลายรายสนใจที่จะจองซื้อหุ้น โดยบริษัทมักจะกำหนดให้ผู้จองหุ้นชำระเงินค่าหุ้นบางส่วนหรือจ่ายเงินมัดจำพร้อมกับการจอง หลังจากนั้นบริษัทจะเรียก ให้ชำระเงินงวดต่อไป โดยคณะกรรมการของบริษัทจะต้องบอกกล่าวพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระ ค่าหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 21 วัน ด้วยจดหมายลงทะเบียน เมื่อชำระค่าหุ้นครบแล้ว บริษัทจะออกใบหุ้นให้

การบันทึกบัญชีตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. บันทึกการจองหุ้น

2. บันทึกการรับชำระค่าหุ้นงวดแรกพร้อมส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ถ้ามี)

3. บันทึกการรับชำระค่าหุ้นงวดต่อ ๆ ไป

4. บันทึกการออกใบหุ้นให้ เมื่อชำระค่าหุ้นครบ

 - การจำหน่ายหุ้นในราคาตามมูลค่า

1. บันทึกการจองหุ้น

เดบิต ลูกหนี้-ค่าหุ้นสามัญ ( จำนวนหุ้นที่จอง X ราคาจำหน่าย/หุ้น)     xx

       ลูกหนี้-ค่าหุ้นบุริมสิทธิ (จำนวนหุ้นที่จอง X ราคาจำหน่าย/หุ้น)   xx

       เครดิต ทุน-หุ้นสามัญที่จองแล้ว (จำนวนหุ้นที่จอง X ราคาตามมูลค่า/หุ้น)      xx

               ทุน-หุ้นบุริมสิทธิที่จองแล้ว (จำนวนหุ้นที่จอง X ราคาตามมูลค่า/หุ้น)    xx

2. บันทึกการรับชำระค่าหุ้นงวดแรก

เดบิต เงินสด (จำนวนหุ้นที่จอง X จำนวนเงินที่เรียกชำระครั้งแรก/หุ้น) xx

       เครดิต ลูกหนี้-ค่าหุ้นสามัญ                                                      xx

               ลูกหนี้-ค่าหุ้นบุริมสิทธิ                                                    xx

3. บันทึกการรับชำระค่าหุ้นงวดต่อไป

เดบิต เงินสด (จำนวนหุ้นที่จอง X จำนวนเงินที่เรียกชำระครั้งต่อไป/หุ้น) xx

         เครดิต ลูกหนี้-ค่าหุ้นสามัญ                                                          xx

                    ลูกหนี้-ค่าหุ้นบุริมสิทธิ                                                               xx

4. บันทึกการออกใบหุ้นให้ เมื่อชำระค่าหุ้นครบ

เดบิต ทุน-หุ้นสามัญที่จองแล้ว (จำนวนหุ้นที่ชำระเงินครบ X ราคาตามมูลค่า) xx

       ทุน-หุ้นบุริมสิทธิที่จองแล้ว                                                xx

       เครดิต ทุน-หุ้นสามัญ                                                           xx

                ทุน-หุ้นบุริมสิทธิ                                                       xx

bottom of page