top of page

3. ความหมายและประเภทของหุ้นทุน

1. ทุนจดทะเบียนหรือทุนรับอนุญาต (Registered Capital or Authorized Capital Stock) หมายถึง จำนวนหุ้นทุนที่กฎหมายอนุญาตให้บริษัทนำออกจำหน่ายได้

2. ทุนที่ออกจำหนำาย (Issued Capital Stock) หมายถึงหุ้นทุนที่บริษัทนำออกจำหน่ายให้บุคคลภายนอกแล้ว

3. ทุนที่ยังไม่ออกจำหน่าย (Unissued Capital Stock) หมายถึง หุ้นทุนที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังไม่ได้ออกจำหน่าย

4. หุ้นให้จอง (Subscribed Capital Stock) หมายถึง หุ้นที่จดทะเบียนและบริษัทนำออกให้จองแต่ชำระเงินยังไม่ครบ จึงยังไม่ออกใบหุ้นให้

5. หุ้นซึ่งชำระมูลค่าแล้ว (Paid-up Stock) หมายถึง หุ้นที่บริษัทได้รับชำระเงินค่าหุ้นแล้ว

6. หุ้นที่อยู่ในมือผู้ถือหุ้น (Outstanding Stock) หมายถึง หุ้นที่ออกจำหน่ยและเก็บเงินได้ครบแล้ว ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นแล้ว โดยมิได้ยกเลิก

7. หุ้นทุนได้รับคืน (Treasury Stock) หมายถึง หุ้นของบริษัทที่จำหน่ายไปแล้วและบริษัทได้ซื้อกลับคืนมา ย่างที่ 1 บริษัทเจริญพร จำกัด จดทะเบียนหุ้นทุน 20,000 หุ้น นำออกจำหน่ายทั้งสิ้น 18 เป็นการให้จองและยังไม่ใต้ออกใบหุ้น 1,000 หุ้น จำหน่ายเป็นเงินสด และออกใบหุ้นให้แล้ว 14,000 หุ้น

ประเภทของหุ้นทุน

หุ้นทุนของบริษัทเอกชน จำกัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. หุ้นสามัญ 2. หุ้นบุริมสิทธิ

2. หุ้นสามัญ (Common Stock) หุ้นสามัญหรือหุ้นหลัก หรือหุ้นพื้นฐานของบริษัทเอกชน จำกัด เป็นพื้นที่ทุกบริษัทมีไว้จำหน่าย ผู้ถือหุ้นมีฐานะเป็นเจ้าของและมีสิทธิเท่าเทียมกัน ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่ถ้าบริษัทประสบผลขาดทุน ผู้ถือหุ้นก็จะไม่ได้รับผลตอบแทน สิทธิ ของผู้ถือหุ้นสามัญตามที่กฎหมายกำหนด สรุปได้ดังนี้

  1.1 สิทธิในการออกเสียง ผู้ถือหุ้นสามัญทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงมติควบคุม ดำเนินงานของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน 1 หุ้นต่อ 1 เสียง

  1.2 สิทธิในเงินปันผล ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลจากกำไรสุทธิของบริษัทตามที่คณะกรรมการประกาศจ่าย

  1.3 สิทธิในส่วนแบ่งสินทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการจะนำสินทรัพย์ทั้งสินที่มีอยู่ไปจำหน่าย เพื่อชำระหนี้สินทั้งหมดก่อน เมื่อมีเงินสดเหลือจะแบ่งให้ผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่แต่ละคนถืออยู่

  1.4 สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มก่อนบุคคลภายนอก ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มในกรณีที่บริษัทออกหุ้นใหม่ตามส่วนและชนิดของหุ้นที่ตนถืออยู่ เพื่อให้สิทธิส่วนได้เสียยังคงสัดส่วนเดิม

  1.5 สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองของบริษัท ในการได้รับรู้ข่าวสารข้อมูลกิจกรรมและการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร

2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นชนิดที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ และได้รับเป็นผลในอัตราที่กำหนดแน่นอน และได้รับเงินคืนค่าหุ้นเมื่อเลิกกิจการ ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัท เป็นหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกรรมการบริหาร หุ้นบุริมสิทธิแบ่งออกเป็นหลายชนิดและมีสิทธิแตกต่างกันออกไปตามที่กำหนด ต่อไปนี้

  2.1 สิทธิของหุ้นบุริมสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทมีผลกำไรจากการดำเนินงานจะจ่ายเงินปันผลให้แก่หุ้นบุริมสิทธิก่อนส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งให้หุ้นสามัญ โดยปกติหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่แน่นอน

  2.2 สิทธิในสินทรัพย์สุทธิ(ทุน) ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ กรณีที่บริษัทเลิกกิจการหลังจากจำหน่าย สินทรัพย์และชำระหนี้สินแล้ว สินทรัพย์ที่เหลือจะจ่ายคืนทุนให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อนส่วนที่เหลือจึงคืนทุนให้ หุ้นสามัญ

ข้อจำกัดของหุ้นบุริมสิทธิ

 1. ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับเงินปันผลจำกัด เพียงไม่เกินอัตราที่กำหนด

 2. ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิอาจถูกบริษัทเรียกไถ่คืนหุ้นบุริมสิทธิได้

 3. ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการบริหาร

 4. ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิในกรณีบริษัทมหาชน จำกัดมีสิทธิออกเสียงน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544

ชนิดของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ

1. หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผลทุก ๆ ปี ไม่ว่าบริษัทจะมีผลการดำเนินงานกำไรหรือขาดทุน ถ้าปีใดบริษัทไม่ประกาศจ่ายเงินปันผลก็จะต้องสะสมไปจ่ายในปีถัดไป

2. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม (Non-cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลต่อเมื่อบริษัทมีผลกำไรจากการดำเนินงานและประกาศจ่ายเท่านั้น ถ้าปีใดบริษัทประสบผลขาดทุนจะไม่ได้รับเงินปันผลในปีนั้น และไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลย้อนหลังของปีก่อน ๆ

3. หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับเงินปันผล (Participating Preferred Stock) คือหุ้นบุริมสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดไว้แล้ว ยังมีสิทธิร่วมรับเงินปันผลกับหุ้นสามัญในเงินคงเหลือ หลังจากได้จ่ายเงินปันผลให้หุ้นสามัญอัตราเดียวกับหุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  

  3.1 หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับเต็มที่ (Fully Participating) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิร่วมรับ เงินปันผลที่เหลือในอัตราเท่ากับเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ

  3.2 หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับเพียงไม่เกินอัตราสูงสุด (Maximum Rate) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิร่วมรับเงินปันผลที่เหลือไม่เกินจำนวนสูงสุดที่กำหนดไว้

4. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ (Nonparticipating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิจะได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดในปีที่ประกาศจ่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นของผู้ถือหุ้นสามัญทั้งหมด

5. หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพ (Convertible Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่อาจ แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน เนื่องจากหุ้นบุริมสิทธิแม้ว่าจะได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญก็ตามแต่ก็ถูกจำกัดเงินปันผลเพียงไม่เกินอัตราที่กำหนด ดังนั้นเพื่อให้โอกาสแก่ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไรมากขึ้นในขณะที่บริษัทมีกำไรสูง บริษัทจึงให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้

6. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนหรือไถ่คืนได้ (Redumable Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนคืนได้ก่อนกำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตอนจดทะเบียนครั้งแรก โดยปกติการไถ่คืนนั้น บริษัทจะต้องจ่ายในราคาที่สูงกว่ามูลค่าหรือสูงกว่าราคาที่จำหน่ายครั้งแรก เพื่อเป็นการชดเชยผู้ถือหุ้น บุริมสิทธิในกรณีที่บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนนี้ต่อไป

bottom of page