top of page

2. การดำเนินการจัดตั้งบริษัทเอกชน จำกัด

1. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ นับที่ 18 ) พ.ศ. 2551 มาตรา 6] มาตรา 1097 บัญญัติว่า "บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 3 คน จะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทเอกชน จำกัด ได้ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ (Memorandum of Association) แสดงความประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทเอกชน จำกัด โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วนำไปจดทะเบียน ถ้าเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ชึ่งสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้

อัตราค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนหนังสือบริคณท์สนธิ

       การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดตามทุนที่ขอจดทะเบียน แสนละ 50 บาท แต่ต้องไม่น้อยกว่า 500 บาท และไม่เกิน 25,000 บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1098 ได้บัญญัติไว้ว่า หนังสือบริคณท์สนธิ ต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

- การตั้งชื่อของบริษัทต้องมีคำว่า "จำกัด" (Limied) ไว้ท้ายชื่อเสมอ

- สถานที่ตั้งของบริษัทที่จดทะเบียน ณ ที่ใด ในพระราชอาณาจักร

- วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท ถ้อยคำแสดงว่า ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด

- จำนวนทุนเรือนหุ้น ซึ่งบริษัทจดทะเบียนแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าไร ทั้งนี้ก่อนที่จะนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนนั้น จำเป็นต้องมีการจองชื่อบริษัทก่อน เพื่อ ป้องกันมิให้ชื่อบริษัทที่ตั้งซ้ำกับบริษัทอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1099 หนังสือบริคณห์สนธิให้ทำตันฉบับไว้อย่างน้อย 2 ฉบับ และให้ลงลายมือชื่อของผู้ก่อการ และมีพยานลงชื่อรับรองด้วย 2 คน

2. เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้วก็ต้องออกหนังสือเชิญชวนบุคคลเข้าชื่อจองซื้อหุ้น (โดยติดต่อเฉพาะเป็นรายบุคคล)ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้ผู้ก่อการทำหนังสือชี้ขวนโฆษณาการจองซื้อหุ้น (กฎหมาย ให้สิทธิเฉพาะบริษัทมหาชน จำกัดเท่านั้น)

3. ผู้ก่อการจะต้องนัดบรรดาผู้จองซื้อหุ้นมาประชุมพร้อมกัน โดยต้องบอกกล่าวให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม

4. การประชุมจัดตั้งบริษัท (Statutory Meeting) ต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้จองให้ทราบ ล่วงหน้า 7 วัน ตามมาตรา 1108 ได้บัญญัติไว้ว่า กิจการมีเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องพิจารณาและกระทำใน การประชุมจัดตั้งบริษัท ดังต่อไปนี้

4.1 การพิจารณากำหนดระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัทเอกชน จำกัด

4.2 การให้สัตยาบันในสัญญาต่าง ๆ ซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้และค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท ต่าง ๆ ที่ได้จ่ายแทนบริษัทไปก่อน

4.3 จำนวนเงินคำตอบแทนที่จะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ หากมีความประสงค์ที่จะให้

4.4 กำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ พร้อมทั้งชนิดของหุ้นและสิทธิพิเศษของหุ้นบุริมสิทธิ ถ้าหากจะมีหุ้นชนิดนี้ในบริษัท

4.5 กำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งออกให้เสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มมูลค่า หรือได้ชำระแต่เพียงบางส่วนแล้วเนื่องจากชำระด้วยอย่างอื่นนอกจากเงินสด เช่น สินทรัพย์ หรือ กำหนดสิ่งที่ใช้แทนเงินนั้นคิดเป็นมูลค่าเท่าใด

4.6 เลือกตั้งกรรมการและผู้สอบบัญชีชุดแรกพร้อมกำหนดเงินค่าจ้าง และกำหนดอำนาจหน้าทีของกรรมการชุดนี้

5. ผู้เริ่มก่อการมอบหมายกิจการงานทั้งปวงให้กับคณะกรรมการของบริษัทเอกชน จำกัด

6. คณะกรรมการของบริษัทเอกชน จำกัด จะเรียกให้ผู้จองซื้อหุ้นนำเงินมาชำระค่าหุ้นครั้งแรก อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้นพร้อมส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ถ้ามี)

7. คณะกรรมการบริษัทเอกชน จำกัด เก็บเงินค่าหุ้นได้ครบแล้ว จะต้องไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทเอกชนจำกัด ตามแบบคำขอที่สำนักงานทะเบียน ที่กิจการนั้นตั้งอยู่ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัท และต้องมีเอกสารหลักฐานในการจดทะเบียนดังนี้

มาตรา 1111/1 (พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่18) พ.ศ. 2551 มาตรา 8 ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการครบทุกชั้นตอนภายในวันเดียวกับผู้เริ่มก่อการ จัดทำหนังสือบริณฑ์สนธิ กรรมการจะขอจดทะเบียนหนังสือบริณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทภายวันเดียวกันได้โดย

1. ให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นตามจำนวนทั้งหมดของบริษัทที่จดทะเบียน

2. ประชุมจัดตั้งบริษัทเพื่อพิจารณากิจการต่างๆ โดยผู้ก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมและให้ความเห็นชอบในการประชุมนั้น

3. ผู้เริ่มก่อการมอบกิจการให้แก่กรรมการ

4. กรรมการเรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนใช้เงินค่าหุ้นไม่น้อยกว่า 25%

5. ยื่นคำขอจดทะเบียน หนังสือบริคณห์สนธิ และจัดตั้งบริษัท จำกัดพร้อมกัน ภายใน3เดือนหลังจากประชุม

หน้าที่ของบริษัทเอกชน จำกัด

1. ต้องจัดทำงบการเงินอย่างน้อย 1 ครั้งทุกรอบ 12 เดือน โดยมีผู้ตรวจสอบบัญชีอย่างน้อย 1 คน นำเสนอที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น อนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี พร้อมยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับแต่วันอนุมัติงบการเงิน

2. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัด ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม

3. ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและจัดประชุมครั้งต่อไป อย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12เดือน

4. ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท

5. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นบริษัท

6. ถ้าบริษัทเอกชน จำกด ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ต้องขอจดทะเบียนต่อนายะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

ข้อดีของการจัดตั้งบริษัทเอกชน จำกัด

1. สามารถระดมเงินทุนได้ง่ายและมากกว่า โดยวิธีการออกหุ้นจำหน่าย ซึ่งหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน (มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 บาท)

2. ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัด เพียงแค่จำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าที่จอง

3. เจ้าหนี้ของบริษัทเอกชน จำกัด มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้ได้เท่าที่บริษัทมีสินทรัพย์อยู่เท่านั้น ไม่สิทธิเรียกร้องชำระหนี้สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้

4. ผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชน จำกัด สามารถขายหรือโอนเปลี่ยนมือได้

5. การกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน สามารถทำได้ง่าย เนื่องจากเป็นนิติบุคคล

6. การดำรงอยู่ของกิจการบริษัทเอกชน จำกัด สามารถดำรงอยู่ได้นานกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ถือหุ้น

7. การบริหารงาน สามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถฉพาะทางมาร่วมงานได้

ข้อเสียของการจัดตั้งบริษัทเอกชน จำกัด

1. การจัดตั้งบริษัทเอกชน จำกัด ยุ่งยากกว่ากิจการประเภทอื่น

2. การบริหารจัดการดำเนินไปได้ช้า เนื่องจากต้องผ่านระบบขั้นตอนลำดับขั้น

3. บริษัทเอกชน จำกัด ถือเป็นนิติบุคคลต้องยื่นเสียภาษีจากกำไรสุทธิ ธรรมดาอีก ถือเป็นการเสียภาษี 2 ครั้งในรายได้เดียวกัน

4. บริษัทเอกชน จำกัด จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นต้องนำเงินปันผลไปเสียภาษีเงินได้บุคคล

5. เกิดช่องว่างระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับพนักงานระดับต่ำ

bottom of page